วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 7

อินเทอร์เน็ตบูม ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ผุดตาม
Reuters – ความนิยมการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างรวมทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออี-บุ๊ก ตามมา ล่าสุดบริษัทอินเทอร์เน็ตหลายแห่งกำลังเริ่มหาทางทำเงินกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กันนี้แต่มีรูปแบบต่างออกไป
บริษัทอินเทอร์เน็ตหลายแห่งกำลังสร้างคอลเล็กชั่นหนังสือดิจิตัล หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ แต่แทนที่จะให้บริการหนังสืออ่านเล่น และหนังสือทั่วๆ ไปแบบที่ผู้อ่านนิยมจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลดอ่าน แต่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะเก็บรวบรวมเฉพาะหนังสือวิชาการที่ผู้ใช้สามารถค้นหาและดูได้ทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ใดก็ได้ และเน้นกลุ่มลูกค้าไปที่นักศึกษา 15 ล้านคนที่ต้องท่องหนังสือสอบหรือทำรายงาน
บริษัทที่หันมาสนใจตลาดนี้มีหลายบริษัทได้แก่ ebrary,NetLibrary,Questia,Eduventure รวมทั้งสำนักพิมพ์วิชาการที่ทำธุรกิจด้านนี้มานานอย่าง Britannica ด้วย
นักวิเคราะห์จาก Eduventures.com เชื่อว่าหนังสือดิจิตอลในอุตสาหกรรมการศึกษาจะเป็นแรงดันหลักของธุรกิจภายใน 5 ปี และประเมินว่าปัจจุบันบริการห้องสมุดออนไลน์มีมูลค่าถึง 250 ล้านเหรียญ และจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 3 เท่าภายในปี 2004 เป็นกว่า 850 ล้านเหรียญต่อปีซึ่งตรงข้ามกับที่นักวิจัยจากบริษัทวิจัยจูปิเตอร์มีเดียคาดว่ายอดขายของอี-บุ๊กในปีนี้มีมูลค่าเพียง 70 ล้านเหรียญเท่านั้น
อุปสรรคอย่างหนึ่งในการอ่านหนังสือทางอินเทอร์เน็ตคือผู้อ่านจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง คือต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีจอขนาดใหญ่ และเป็นจอแบนเพื่อให้อ่านสบายตานอกจากนี้หนังสืออิเล็คทรอนิกส์ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้อ่านจะพกติดตัวไปอ่านที่ไหนได้จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าการให้บริการแบบนี้อาจไม่ได้รับความนิยมมากนัก ซึ่งทางบริษัทที่ให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ก็พยายามแก้ปัญหา เช่นให้ผู้อ่านหนังสือที่มีอยู่หลายหมื่นหน้าได้ฟรี แต่จะเก็บเงินจากการพิมพ์หรือคัดลอกไปใช้บนโปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์

เครือข่ายวิทยานิพนธ์ดิจิตอล
ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (ศสท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(เอไอที) จัดสัมมนาโครงการเครือข่ายวิทยานิพนธ์ดิจิตอล วันที่ 4 พฤษภาคมนี้ เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ อาคาร สวทช. ถนนพระราม 6 ราชเทวี โดยโครงการเครือข่ายวิทยานิพนธ์ดิจิตอลเป็นโครงการร่วมระหว่าง ศสท. และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และการจัดการสารสนเทศของสถาบันเอไอที ที่เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา หากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว ประเทศไทยจะมีห้องสมุดดิจิตอลสำหรับวิทยานิพนธ์ไทยบริการแก่ประชาชนทั่วไปในอินเตอร์เน็ต


มัลติมีเดียแตกไลน์อี-เลิร์นนิ่งจับกลุ่มนักศึกษา
มัลติมีเดีย เทคโนโลยีแตกบริการใหม่ติดตั้งอุปกรณ์การเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต(อี-เลิร์นนิ่ง) เจาะกลุ่มเป้าหมายนักเรียนนักศึกษาและองค์กรที่เน้นฝึกอบรมชี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่งบุคลากรไปอบรมนอกสถานที่
นายเชิดศักดิ์ ถาวรเศรษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มัลติมีเดียเทคโนโลยี จำกัด ผู้ให้บริการรวบรวมระบบ และเครือข่ายมัลติมีเดีย กล่าวว่าบริษัทได้เพิ่มธุรกิจใหม่ติดตั้งระบบการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต(อี-เลิร์นนิ่ง) บนเครือข่ายมัลติมีเดีย ด้วยการพัฒนาโปรแกรมไวท์บอร์ด สตรีมมิ่ง (Whiteboard Streaming) เพื่ออำนวยความสะดวกให้สถานศึกษา และอาจารย์ผู้สอนสร้างเนื้อหาสำหรับการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ระบบดังกล่าวผู้สอนไม่ต้องพัฒนาเนื้อหาใดๆ เนื่องจากมีโปรแกรมที่จะบันทึกภาพการสอนของอาจารย์ที่เขียนไว้ในบอร์ดเป็นการนำสอนแบบดั้งเดิม ที่เขียนด้วยชอล์ค และการพูดคุย (ชอล์ค แอนด์ ทอล์ค) มาบันทึกในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แบบเคลื่อนไหวได้ และเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่ายได้
สำหรับค่าใช้จ่าย ในการติดตั้ง ระบบอี-เลิร์นนิ่งในสถาบัน ประมาณ 28,500 บาท พร้อมซอฟต์แวร์ 20,000 บาท ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย เป็นสถาบันศึกษาภาครัฐ และหน่วยงานที่ส่งเสริมการศึกษาในภาครัฐ โดยส่งเสริมนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นระบบการเรียนตามอัธยาศัย นักเรียนค้นข้อมูลด้วยตนเอง สามารถเลือกเรียนในวิชาที่สนใจหรือขาดเรียนได้ อย่างไรตาม ในตลาดภาครัฐนี้บริษัทไม่เคยทำตลาดมาก่อนเนื่องจากลูกค้าหลักเป็นกลุ่มองค์กรจึงยังไม่ได้คาดหวังรายได้มากนัก
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะนำเสนอบริการสร้างระบบอี-เลิร์นนิ่งในองค์กรทั้งโปรแกรมและระบบเครือข่าย โดยองค์กรต้องจัดหาเนื้อหาที่ต้องการบริษัทจะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสื่ออิล็กทรอนิกส์ จัดเก็บเป็นองค์ความรู้ขององค์กร และสร้างระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับใช้ข้อมูลเฉพาะภายในองค์กร
“แนวโน้มในอนาคต หากธุรกิจอี-เลิร์นนิ่งขยายตัวมากขึ้น และองค์การต่างๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรองค์กรมากขึ้น การสร้างระบบการเรียนรู้ และฝึกอบรมภายในองค์กร ทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย ส่งคนไปอบรมภายนอกรวมทั้งสามารถให้ผู้บริการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการเรียนรู้ของพนักงานองค์กรได้สำหรับบริษัทเองหากธุรกิจนี้ไปได้ดีก็แตกธุรกิจส่วนนี้ออกเป็นบริษัทใหม่” นายเชิดศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตามคาดว่ารายได้หลักของบริษัท จะมาจากธุรกิจติดตั้งระบบ (ซิสเต็ม อินทิเกรเตอร์) เป็นหลัก โดย เฉพาะระบบเครือข่ายมัลติมีเดีย และสื่อสารภายในองค์กรโดยไมโครซอฟท์ เอ็กซเชนจ์เป็นสินค้าหลัก ซึ่งนำเสนอระบบประชุมทางไกล(คอนเฟอร์เรนซ์) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เทอร์เน็ต

ที่มา http://www.correct.go.th/hrd/news/n_e_book.htm

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

ประกวดภาพถ่ายแม่ลูก “พลังแห่งรัก แม่ลูกผูกพัน”

ThaiPR.net

เชิญ ร่วมบอกรักแม่ พร้อมร่วมสนุกกับกิจกรรมประกวดภาพถ่ายความประทับใจคู่แม่ลูกในธีม “พลังแห่งรัก แม่ลูกผูกพัน” โดยส่งภายถ่ายคู่แม่ลูก พร้อมข้อความบอกรัก มายัง เฟซบุ๊คwww.facebook.com/ilovemomnews ซึ่งภาพที่ได้รับการโหวต (กด like ) สูงสุดจะได้รับของรางวัลพิเศษ และรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 20,000 บาทอ่านต่อ

แอร์เอเชียก้าวสู่ผู้ร่วมเดินทาง 100 ล้านความสุข ชวนเขียนคอมเม้นท์ประทับใจ ลุ้นรางวัลกว่า 50,000 บาท

ThaiPR.net

แอร์ เอเชียเตรียมฉลองก้าวสู่ยอดผู้โดยสาร 100 ล้านคน ภายใน 8 ปีครึ่ง! ชวนเขียนคอมเม้นท์แชร์ประสบการณ์ความประทับใจกับแอร์เอเชียจากวิดีโอที่ กำหนด 5 ห้วข้อ ผ่าน Www.facebook.com/airasiathailand ลุ้นรับรางวัล E Gift Voucher มูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท นายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวว่าอ่านต่อ

ข่าว ebook พฤหัสบดีที่ 5 ส.ค. 2010

คอลัมน์: กระจกไร้เงา: เว็บเครือข่ายสังคม ยังไม่เอาต์

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

กระแสของ "เว็บโซเชียลเน็ตเวิร์ก" หรือที่เรียกกันว่าเว็บเครือข่ายสังคม ทั้ง "Facebook" และ "Twitter" ยังคงแรงไม่เลิก ล่าสุดผลวิจัยของนีลเซ็น อินเทอร์เน็ต รีเสิร์ซ ในเดือน มิ.ย. 2553 ซึ่งเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต พบว่า การใช้บริการเว็บเครือข่ายสังคม มีสัดส่วนเป็นอันดับ 1 จากการใช้งานออนไลน์ทั้งหมดอ่านต่อ

ข่าว ebook พุธที่ 4 ส.ค. 2010
ซุบซิบ: คุณเม่ย พรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ  ผจก.มูลนิธิรามาธิบดี

ซุบซิบ: คุณเม่ย พรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผจก.มูลนิธิรามาธิบดี

ThaiPR.net

หลัง จากคุณเม่ย พรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผจก.มูลนิธิรามาธิบดี ได้รับเชิญเป็นแขกพิเศษสัมภาษณ์ในรายการสุริวิภา เมื่อหลายวันก่อน ปรากฏว่ามีคน SMS กระหน่ำข้อความเข้ารายการ รวมทั้งฝากข้อความผ่าน Facebook และเวลาไปทำธุระที่เยาวราช ไปจนถึงห้างไฮโซกลางเมือง มีคนเข้ามาพูดคุยอ่านต่อ

“เคทีบี ลีสซิ่ง” ผุดแคมเปญพิเศษสินเชื่อ “Notebook” เจาะกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชน

ThaiPR.net

บริษัท เคทีบี ลีสซิ่ง จำกัด ถือหุ้นโดย ธนาคารกรุงไทย 100% ผู้นำบริการด้านการเงินแบบครบวงจร รุกตลาดเช่าซื้อสินค้าอุปโภคผุดแคมเปญพิเศษ “โครงการสวัสดิการสินเชื่อคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Notebook)” ปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มข้าราชการและพนักงาน ภายในหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ รวมถึงอ่านต่อ

วัน-ทู-คอ ล! จับมือ ไมโครซอฟท์ ออกนวัตกรรมซิมใหม่ “Chat Sim” ครั้งแรกในเอเชีย ทลายทุกข้อจำกัด ให้ลูกค้าแชทได้ไม่อั้น ตลอด 24 ชั่วโมง กับมือถือธรรมดา เพียงวันละไม่ถึง 2.50 บาท

ThaiPR.net

วัน ทู คอล! จับมือ ไมโครซอฟท์ ออกสุดยอดนวัตกรรมซิมรูปแบบใหม่ “Chat Sim” เป็นครั้งแรกในเอเชียที่ทลายทุกข้อจำกัด ให้ลูกค้า Chat ได้ไม่อั้นกับมือถือธรรมดา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Smart Phone, คอมพิวเตอร์ หรือ Notebook ด้วยอัตราค่าบริการสุดคุ้ม เพียงวันละไม่ถึง 2.50 บาทอ่านต่อ

ที่มา http://www.ryt9.com/general/tag/ebook/

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

E-book” ทางเลือกใหม่ สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์

Pic_53744



ทีเค ปาร์คผุดกิจกรรมเสริมความรู้ ประกวด E-book 4 ภาค หวังกระชับสัมพันธ์ครู-ศิษย์ หวังพัฒนาวงการศึกษา จากประโยชน์เทคโนโลยี...

ด้วยวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นและสนับสนุนให้เยาวชนไทยใช้เทคโนโลยีอย่างถูก ต้อง สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) หรือ ทีเค ปาร์ค หน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) จึงจัดโครงการประกวด E-book 4 ภูมิภาค ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฟ้นหาสื่อการสอนยุคดิจิตอลที่มีความสร้างสรรค์จากสถาบันการศึกษาทั่ว ประเทศ ภายใต้เงื่อนไขการทำงานเป็นทีม โดยแบ่งเป็นครู 1 คนและนักเรียน 2 คน...

น.ส.อัศรินทร์ นนทิหทัย ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) หรือ ทีเค ปาร์ค หน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า กิจกรรมประกวด E-book 4 ภูมิภาค มีวัตถุประสงค์ในการเปิดโอกาสให้ครูและเยาวชนเกิดการแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์และเพิ่มความเข้าใจให้แก่บทเรียน ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการสร้างสื่อการเรียนการสอนผ่านรูปแบบ ต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ผลงานอิเล็กทรอนิกส์ ภาพสามมิติ หรือภาพเคลื่อนไหว



ทีมชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนโพธิ์ไทรงามวิทยาคม จ.พิจิตร

ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมของทีเค ปาร์ค ให้รายละเอียดต่อว่า ผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดสามารถนำไปต่อยอด เพื่อกระจายความรู้สู่เยาวชนหรือบุคลากรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ที่ขาดโอกาสและเทคโนโลยีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากครูและนักเรียนทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 356 ผลงาน แบ่งระดับประถมศึกษา 151 ผลงาน มัธยมศึกษา 203 ผลงาน และมหาวิทยาลัย 2 ผลงาน

ด้าน อาจารย์สุภา เสือเขียว ครูคศ.1 โรงเรียนโพธิ์ไทรงามวิทยาคม จ.พิจิตร ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา เล่าว่า สื่อการสอนที่ได้รับรางวัลเป็นเรื่องการแปรงทางเรขาคณิต หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้น ม.2 โดยตนจัดทำร่วมกับ ด.ญ.จุรินทิพย์ กองลินแก้ว และนายปริวัตร เทืองสันเทียะ นักเรียนชั้นม.1 ที่ตนเองเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยนักเรียนทั้ง 2 คนมีหน้าที่อ่าน ตรวจสอบตัวสะกด และทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ตนเองต้องการสื่อสารกับนักเรียน เพื่อแก้ไขให้มีความเข้าใจถูกต้องตรงกัน เป็นการผสมผสานความรู้ของครูและความเข้าใจของนักเรียนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถตรวจสอบความพร้อมก่อนนำไปใช้สอนจริงได้อีกทางหนึ่ง



ทีมชนะเลิศระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านดอนขวาง จ.นครราชสีมา

ครูที่ปรึกษา สื่อการสอนรางวัลชนะเลิศ ให้ข้อมูลต่อว่า ปัจจุบันโพธิ์ไทรงามวิทยาคมมีนักเรียน 220 คน ครู 16 คน โดยนักเรียนส่วนมากมักจะมีฐานะไม่ค่อยดี ประกอบกับโรงเรียนเป็นเพียงโรงเรียนประจำอำเภอ จึงไม่มีงบประมาณ ภายในโรงเรียนฯ มีคอมพิวเตอร์จำนวนทั้งสิ้น 24 เครื่อง ติดตั้งอยู่ในห้องคอมพิวเตอร์ 20 เครื่อง บริเวณหน้าห้องพักครูและห้องสมุดอีก 4 เครื่อง ซึ่งนักเรียนจะให้ความสนใจใช้เครื่องอย่างต่อเนื่อง ส่วนการใช้ E-book ประกอบการเรียนการสอนนั้น โรงเรียนฯ มีเนื้อหา 3 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมศึกษา จากการสังเกต พบว่าคาบเรียนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอน จะได้รับความสนใจและสามารถดึงดูดนักเรียนได้มากเป็นพิเศษ เพราะนักเรียนทั้งหมดของโรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ส่วนตัว อุปกรณ์ดังกล่าวจึงถือเป็นเรื่องใหม่และดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี

อาจารย์สุภา บอกอีกว่า การใช้ E-book ประกอบการเรียนการสอนสามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจได้มากกว่าการ เรียนจากหนังสือ ด้วยการนำเสนอผ่านภาพที่ก่อให้เกิดมิติและความเข้าใจอย่างยั่งยืน เอื้อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาและผู้จัดทำ แม้ว่าทางโรงเรียนยังขาดแคลนอุปกรณ์และเทคโนโลยี แต่ก็ให้ความสำคัญและมีนโยบายรองรับความต้องการด้านดังกล่าวมากขึ้น ทั้งแผนการพัฒนาและเพิ่มสื่อการสอน E-book การจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อจัดสรรงบประมาณสำหรับใช้พัฒนาด้านดังกล่าว และจัดจ้างครูจ้างสอนอีก 1 ตำแหน่ง เพื่อดูแล รักษา และแบ่งเบาภาระของครูวิชาคอมพิวเตอร์

แม้โรงเรียนโพธิ์ไทรงามวิทยาคม จ.พิจิตร จะเป็นเพียงโรงเรียนประจำอำเภอ แต่ความมุ่งมั่นของครูและนักเรียน ก็ถือเป็นตัวอย่างในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และกระตุ้นให้เกิดความพยายามในการสร้างสรรค์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการขยายโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาทักษะด้านวิชาการควบคู่กับเทคโนโลยี

อย่างน้อยก็กลายเป็นต้นแบบให้บุคลากรภายในโรงเรียน พร้อมกระจายวงกว้างสู่ระดับอำเภอ จังหวัด หรือประเทศ ด้วยความหวังในการนำเสนอเทคโนโลยีจากจุดเริ่มต้น ผ่านกระบวนและเครื่องมือราคาถูกที่เปี่ยมด้วยพลังของแม่พิมพ์ เพียงเพื่อต้องการพัฒนาความรู้และมอบโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลแก่ศิษย์ ให้ทัดเทียมนักเรียนโรงเรียนอื่น ภายใต้บทบาทฟันเฟืองชิ้นสำคัญ ที่ช่วยผลักดันให้อนาคตของชาติได้ก้าวเดินอย่างถูกทางต่อไป...


ที่มา http://www.kroobannok.com/27822

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

หนังสือที่มีอยู่โดยทั่วไป จะมีลักษณะเป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ด้วยกระดาษ แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงของ ยุคสมัย และความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำหนังสือดังกล่าวเหล่านั้นมาทำคัดลอก (scan) โดยที่หนังสือก็ยังคงสภาพเดิมแต่จะได้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นแฟ้มภาพ ขึ้นมาใหม่ วิธีการต่อจากนั้นก็คือจะนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่านกระบวนการแปลงภาพเป็นตัว หนังสือ (text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นตัวหนังสือที่ สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้
การถ่ายทอดข้อมูลในระยะต่อมา จะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษก็เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูล (files) แทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (documents printing)
รูปแบบของหนังอิเล็กทรอนิกส์ยุคแรกๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยในแต่ละหน้าของเว็บไซต์เราเรียกว่า "web page" โดยสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อคอยแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader (.LIT)
หลังจากนั้นต่อมามีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะ เหมือนกับหนังสือทั่วไปได้ เช่น สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ โดยคุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป

ความหมายของ e-Book

“อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
1.2 โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player

สำหรับบางท่านที่มีความชำนาญในการใช้โปรแกรม Flash Mx ก็สามารถสร้าง e-Book ได้เช่นกัน แต่ต้องมีความรู้ในเรื่องการเขียน Action Script และ XML เพื่อสร้าง e-Book ให้แสดงผลตามที่ต้องการได้

ความแตกต่างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) กับหนังสือทั่วไป
ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้
3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update)
ได้ง่าย
5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ ประหยัด
7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์
9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ (print)ได้
10. หนังสือทั่วไปอ่านได้1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากในรูปแบบของไฟล์ คอมพิวเตอร์ ใน Handy Drive หรือ CD
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)
ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไป ที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือกระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ
สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
• หน้าปก (Front Cover)
• คำนำ (Introduction)
• สารบัญ (Contents)
• สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents)
• อ้างอิง (Reference)
• ดัชนี (Index)
• ปกหลัง (Back Cover)
หน้าปก หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
คำนำ หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
สารบัญ หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย
• หน้าหนังสือ (Page Number)
• ข้อความ (Texts)
• ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
• เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
• ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi
• จุดเชื่อมโยง (Links)

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

e-book

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

1. ความหมายและธรรมชาติของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

1.1 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ที่ใช้ในภาษาไทยอย่างเป็นทางการ แต่กระนั้นก็ได้มีผู้ให้คำนิยามเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้หลายท่านด้วยกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะด้วยกัน คือในลักษณะของซอฟท์แวร์ , ฮาร์ดแวร์ และในลักษณะที่เป็นทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์

1.1.1 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของซอฟท์แวร์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หมายถึง หนังสือเล่มที่ถูกดัดแปลงให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ผู้อ่านสามารถอ่านข้อมูลได้จากจอคอมพิวเตอร์ มีลักษณะข่าวสารเป็นแบบพลวัต หากต้องการปรับปรุงข้อมูลก็สามารถทำได้โดยดึงข้อมูล (Download) มาจากอินเตอร์เน็ต หรือซีดีรอม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถในการทำไฮเปอร์เท็กซ์, คนหาข้อความ , ทำหมายเหตุประกอบ และการทำสัญลักษณ์ใจความสำคัญ (พิชญ์ วิมุกตะลพ, 2538 : 214; Barker , 1992 : 139 ; Gates,1995 : 139 ; “What are E- Books?”,1999 : 1; “NetLingo :The Internet Language Dictionary”, 1999 : 1 “High-Tech Dictionary Definition”, 1999 : 1 “Electronic Book”, 1999 : 1; Reynolds and Derose. 2535 : 263, อ้างถึงใน สุชาดา โชคเหมาะ,2539 : 1-2)

1.1.2 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะของฮาร์ดแวร์ ได้มีผู้ให้คำนิยามไว้ดังต่อไปนี้

“TechEncyclopedia” (1999 : 1) กล่าวกันว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปกรณ์ฉบับกระเป๋าซึ่งสามารถแสดงข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจัดทำสำเนาได้ ทำบุ๊คมาร์คและทำหมายเหตุประกอบได้ “Electronic Book – Webopedia Definition” (1999 : 1)ได้กล่าวถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในฐานะที่เป็นฮาร์ดแวร์ไว้ในทำนองเดียวกับ TechEncyclopedia โดยได้แบ่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 2 รูปแบบคือ ร็อคเก็ตอีบุ๊ค (Rocket Ebook )ของ นูโวมีเดีย เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับกระเป๋า พกพาสะดวกด้วยน้ำหนักเพียง 22 ออนซ์ เก็บข้อมูลได้ถึง 4,000 หน้ากระดาษการเปิดพลิกหน้าร็อกเก็ตอีบุ๊คให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการเปิดหนังสือจริงสามารถทำแถบสว่าง (Highlight) , ทำหมายเหตุประกอบ , ค้นหาคำ และสร้างบุ๊คมาร์คได้ หากต้องการปรับปรุงข้อมูลก็สามารถติต่อไปยังร้านหนังสือหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับรูปแบบที่ 2 คือ ซอฟท์บุ๊ค (Softbook) ของซอฟท์บุ๊คเพรส มีลักษณะคล้ายกับร็อคเก็ตบุ๊ค มีความจุตั้งแต่ 1,500 ไปจนถึง 1 ล้านหน้ากระดาษ

1.1.3 ความหมายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ได้มีผู้ให้ความหมายดังนี้

“What is an E-Book (1999 : 1) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือทั้งที่มีและไม่มีตัวจริง โดยมีรูปแบบการอ่าน 3 แนว คือ ดึงข้อมูลออกมาและพิมพ์โดยผู้ใช้งาน,อ่านโดยตรงจากจอคอมพิวเตอร์ และใช้อ่านโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์อื่นได้แก่ ไลเบรียสมิลลิเนียมอีบุ๊ครีดเดอร์ (Librius Millennium Ebook Reader) , ร็อคเก็ตบุ๊คเป็นต้น

จากความหมายที่กล่าวมาทั้ง 3 ลักษณะ สามารถสรุปได้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การนำหนังสือหนึ่งเล่มหรือหลายๆ เล่ม มาออกแบบใหม่ให้อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่รูปของตัวอักษร, ภาพนิ่ง , ภาพเคลื่อนไหว ,เสียง , ลักษณะที่ตอบโต้กันได้ (interactive) และการเชื่อมโยงแบบไฮเปอร์เท็กซ์ สามารถทำบุ๊คมาร์กและหมายเหตุประกอบตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ โดยอาศัยพื้นฐานของหนังสือเล่มเป็นหลัก

1.2 ธรรมชาติของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีโครงสร้างเหมือนๆกับหนังสือเล่มทั่วๆไป โดยจะประกอบด้วยหน้าปกหน้า-หลัง , สารบัญ ,เนื้อหาภายในเล่ม และดัชนี เนื้อหาภายในเล่มอาจจะแบ่งออกเป็นบทแต่ละบทมีจำนวนหน้ามากน้อยแตกต่างกันไป ในแต่ละหน้าจะประกอบด้วยตัวอักษร, ภาพนิ่ง , ภาพเคลื่อนไหว ,เสียง (อาจจะแสดงทันทีหรือปรากฎเป็นปุ่มไว้ให้กดเรียกก็ได้)หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตะแตกต่างจากหนังสือเล่มในการพลิกหน้า โดยที่ไม่ได้มีการพลิกหน้าจริง หากแต่เป็นไปในลักษณะของการซ้อนทับกัน (Barker and singh, 1985 quoted in Barker and Manji. 1991 : 276) สิ่งที่แตกต่างกันระหว้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับหนังสือเล่มอย่างเด่นชัดคือ การปฏิสัมพันธ์และความเป็นพลวัต (Barker,1996 : 14) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันล่างในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ละเล่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน และการปฏิสัมพันธ์จากผู้อ่าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเหมือนกับหนังสือเล่มดังภาพประกอบ 2 คือมีหน้าปกเพื่อบอกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ หากใน 1หน้า มีข้อมูลเป็นหน้าคู่ ด้านซ้ายมือเป็นหน้าซ้าย ด้านขวามือจะเป็นหน้าขวา กดปุ่มไปหน้าก็จะไปยังหน้าต่อไป กดปุ่มถอยหลังจะกลับไปหน้าก่อน นอกจากนี้ยังสามารถกระโดดข้ามไปยังหน้าที่ผู้อ่านต้องการได้อีกด้วย หน้าสุดท้ายจะเป็นหน้าก่อนออกจากโปรแกรม ถึงแม้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายกับหนังสือเล่มมากแต่ข้อจำกัดที่มีอยู่มากมายในหนังสือเล่มไม่สามารถส่งอิทธิพลมายังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด

2. รูปแบบและการเปรียบเทียบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3 รูปแบบ

2.1 รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบด้วยกันดังนี้
2.1.1 รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามลักษณะการเข้าถึงข้อมูลและการอ่าน (Collis, 1991 : 365) รูปแบบนี้ จะเป็นการแบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ชัดเจนมากที่สุดกว่าทุกๆ แบบที่มีโดยแบ่งออกเป็น

2.1.1.1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อ้างอิง (Automated Reference Books) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อ้างอิงใช้การเข้าถึงข้อมูลในลักษณะการสุ่ม (Random) ผู้อ่านจะค้นหรคำที่ต้องการทราบและอ่านจนจบเนื้อหานั้น จากนั้นจึงค้นหาที่ต้องการทราบต่อไปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อ้างอิงสามารถดูภาพจากฐานข้อมูลเอนไซโคลปิเดีย จัดเป็นแหล่งทรัพยากรซึ่งผู้ใช้สามาถค้นหาหรือเลือกอ่านหนังสือที่มีอยู่ได้ง่ายมาก ในอนาคตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ไม่จะเป็นด้านคุณภาพหรือปริมาณในการบรรจุของฐานข้อมูล และทางที่ผู้อ่านสามารถค้นหาและใช้ข่าวสาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องคงไว้ซึ่งโมเดลการอ้างอิงอยู่

2.1.1.2 หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Automated Textbook Books) หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลส่วนใหญ๋แบบอ่รนไปตามลำดับ (Sequence) จากนั้นก็จะมีการอ่านเนื้อหาเหล่านั้นไปเรื่อยๆ จนจบบท และอาจอ่านบทต่อไปตามลำดับหรือเลือกหัวข้อใหม่ตามความสนใจของผู้อ่าน หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์จะแตกต่างจากหนังสืออ้างอิงอิเล็กทรอนิกส์ตรงที่ผู้อ่านจะมีความคาดหวังที่จะได้รับความรู้จากการอ่านหนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบนี้จะเป็นตัวเสริมคำนิยามของหนังสือเรียนโดยจะขยายความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เรียนทางอ้อมโดยใช้สื่อหลากหลายชนิด

2.1.2 รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามช่องทางการสื่อสาร (Barker, 1991 : quoted in Barker, 1992 : 140 – 141) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1.2.1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ช่องทางการสื่อสารทางเดียว เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถรับสารได้เพียงช่องทางเดียว เช่น ใช้ตาดูหรือใช้หูฟังแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ได้แก่ หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Text Books), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง (Picture Books), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายภาษา ( Talking Books) เป็นต้น

2.1.2.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ช่องทางการสื่อสารหลายทาง เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่านสามารถรับข่าวสารได้หลายช่องทาง เช่น ใช้ตาดู ใช้หูฟัง ใช้มือสัมผัสหน้าจอได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม (Multimedia Books), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รวมสื่อ (Poly Media Books), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Books) เป็นต้น

2.1.3 รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามหน้าที่ (Barker and Giller,1992d,quoted in Barker,1992 : 140) สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ

2.1.3.1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับเก็บเอกสารสำคัญ (Archival) จะมีที่เก็บข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ในรูปแบบของฐานข้อมูล วิธีใช้งานผู้ใช้ขั้นปลาย สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างหนังสือประเภทนี้ ได้แก่ สารานุกรมโกรเลียร์ (Grolier Encyclopedia) สารานุกรมมัลติมีเดียคอมพ์ตัน (Compton’s Multimedia Encyclopedia) เป็นต้น

2.1.3.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้ข่าวสารความรู้ (Information) จะมีลักษณะคาบเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบแรก แต่ข่าวสารจะกินความแคบกว่าแบบแรก และมีลักษณะเฉพาะมากกว่า มีความสัมพันธ์กับหัวข้อเรื่องใดหัวข้อเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น หนังสือเรียนแพทยศาสตร์ออกซฟอร์ดบนซีดีรอม หนังสือรายชื่อเพลงนิมบัส (Nimbus Music Catalogue) เป็นต้น

2.1.3.3 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสอน (Instructional) เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์มากในการถ่ายทอดความรู้ความชำนาฐเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการอบรม ผู้เรียนจะได้รับความรู้และทราบความก้าวหน้าในการเรียนของตนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้บางส่วนจะมีการประเมินและประยุกต์ตามรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคน จะมีการนำเสนอให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน ตัวอย่างได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการออกแบบหน้าจอสำหรับคอมพิวเตอร์พื้นฐานการอบรม (Computer – Based Trainning)

2.1.3.4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบตั้งคำถาม (Interogational) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการทดสอบ, สอบย่อย และประเมินผลกิจกรรม โดยวัดจากความรู้ที่ได้จาการศึกษาหัวข้อที่เกี่ยวข้อง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบตั้งคำถามจะประกอบด้วย 3 ลักษณะที่สำคัญคือ ธนาคารตั้งคำถามหรือแบบฝึกหัด, ข้อสอบ,ลักษณะการประเมินผลและระบบผู้เชี่ยวชาญ จะมีการวิเคราะห์ผลทีได้จาการเรียน มีการแข่งขันและพิจารณาให้ระดับที่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน

2.1.4 รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งตามชนิดของข้อมูลข่าวสารและเครื่องอำนวยความสะดวก (Barker,1991a,quoted in Barker,1992 : 140-141) สามารถแบ่งออกได้เป็น 10 ประเภท คือ

2.1.4.1 หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (Text Books) ในระยะแรกจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงมีโครงสร้างเป็นตัวอักษร (Text) ต่อมาจะมีลักษณะทีเป็นมัลติมีเดียมากขึ้นโดยใช้คุณสมบัติของไฮเปอร์เท็กซ์ในการนำเสนอ

2.1.4.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Books) มีโครงสร้างจากภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ (Animation Clips) หรือภาพวิดีโอ (Motion Video Segment) หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

2.1.4.3 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายภาษา (Talking Books) จะมีลักษณะเป็นเนื้อหาประกอบคำบรรยาย เพื่อให้ง่ายต่อการรับรู้ของผู้อ่าน

2.1.4.4 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง (Static Picture Books) จะประกอบไปด้วยภาพนิ่งหลายๆ ชนิดรวมกัน ภาพแต่ละภาพจะมีคุณภาพที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของงาน

2.1.4.5 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม (Multimedia Books) เป็นการรวมช่องทางการสื่อสารสองทางหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกันเพื่อเข้ารหัสข่าวสาร เป็นการรวมตัวอักษร,ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวมารรวมไว้ด้วยกันตามโครงสร้างแบบเน้นตรง เมื่อผลิตเสร็จสื่อจะออกมาในรูปของสื่อเดียว ได้แก่ จานแม่เหล็กหรือ ซีดีรอม

2.1.4.6 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์รวมสื่อ(Poly Media Books) มีลักษณะตรงกันข้ามกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม โดยใช้การรวมสื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่ ซีดีรอม, จานแม่เหล็ก,กระดาษ,เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอื่นๆ เพื่อส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้ใช้

2.1.4.7 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Books) จะมีลักษณะคล้ายกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อประสม คือ ใช้การสื่อสารหลายช่องทาง แต่จะมีโครงสร้างเป็นแบบนอนลีเนียร์ โดยมีโครงสร้างแบบใยแมงมุม

2.1.4.8 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผู้เชี่ยวชาญ (Intelligent Electronic Books) มีการบรรจุเทคนิคปัญญาเทียม เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) และระบบเครือข่ายประสาท (Neural Networks) ซึ่งสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และประยุกต์ให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน

2.1.4.9 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทางไกล (Telemedia Electronic Books) ต้องอาศัยการสื่อสารทางไกลช่วยในการนำเสนอเนื้อหา เช่น การเรียนการสอนในระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ การส่งข้อความทางอีเมล์ ตลอดจนเป็นทรัพยากรในการสอนทางไกล เช่นในห้องสมุดดิจิตอล

2.1.4.10 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไซเบอร์บุ๊ค (Cyberbook Books) ใช้เทคนิคของความจริงเสมือน (Virtual Reality) ในการสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในประสบการณ์จริง

2.2 การเปรียบเทียบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3 รูปแบบ

การที่ยกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 3 ประเภทคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหว และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียมาเปรียบเทียบนั้นเพราะว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 3 ประเภทนี้จัดเป็นพื้นฐานของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่มีอยู่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2 ชนิดแรกสนับสนุนคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ (Computer – Assisted Learning) ส่วนชนิดสุดท้ายเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบปฎิสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนการเรียนแบบค้นพบของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้

2.2.1 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง (Static Picture Books)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่งเป็นการรวบรวมภาพที่เกี่ยวข้องกันเอาไว้ด้วยกันตามแต่จุดประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ผู้ผลิตต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ใช้ประกอบการสอน เป็นต้น โมเดลคำนิยามของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่งมีดังภาพประกอบ 3 อันประกอบด้วย ปกหน้า,กลุ่มภาพนิ่ง,และปกหลัง ภาพนิ่งนี้อาจเป็นภาพจากวิดีโอ,ซีดีรอม หรือจากที่อื่นๆ ก็ได้ ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่งคือ ขาดโครงสร้างของบท แต่หากจะให้มีก็สามารถทำได้ไม่ยากโดยเก็บรวบรวมภาพที่มีลักษณะแนวเดียวกัน เช่น หัวข้อเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งเป็นบทที่อยู่ตามลำพังไม่ขึ้นกับบทอื่น ใช้รวบรวมสัตว์พวกแมว,หมา,นก และสัตว์อื่นๆ สิ่งสำคัญสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง คือ ต้องมีการควบคุททรงเลือกที่หลากหลายแทนลูกศรในโมเดลของมันซึ่งอาจควบคุมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งเล่มหรือเป็นบางตอนก็ได้

2.2.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหว (Moving Picture Book)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนึ่งซึ่งบรรจุภาพเคลื่อนไหวไว้มากว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจมาจากคอมพิวเตอร์หรือสื่อจากสื่ออื่น เช่น วิดีโอหรือซีดีรอม ภาพจะมีการนำเสนออย่างไรขึ้นอยู่กับอัตราที่ตั้งไว้ อาจนำเสนออย่างรวดเร็ว, ช้าหรือปกติก็ได้ โมเดลคำนิยามของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวมีดังภาพประกอบ 4 ภาพเคลื่อนไหวเป็นการแสดงชุดของภาพที่มีลักษณะคล้ายกันต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว โมเดลของหนังสืออิเช็กทรอนิกส์ชนิดนี้เหมือนกับดมเดลของหนังสือออิเล็กทรอนิกส์ภาพนิ่ง โดยจะมีปกหน้าและปกหลัง ตรงกลางจะประกอบด้วยโครงสร้างของบทที่มีลักษณะเหมือนกันดังภาพประกอบ 1 แต่ละบทจะประกอบด้วย ภาพจำนวยมากซึ่งเรียงลำดับตามหัวข้อหรือเนื้อเรื่อง ถ้าต้องการแบ่งเป็นหมวดหมู่หรือย่อยไปกว่านั้นก็สามารถกำหนดให้เพิ่มขึ้นได้อีกในโครงสร้าง ความมีการควบคุมทางเลือที่หลากหลายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่นไหวโดยสามารถเล่น,หยุดดู,ถอยหลัง,ไปหน้าได้ ตามที่ผู้อ่านต้องการด้วย

2.2.3 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย (Multi – Media Books)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียประกอบด้วยตัวอักษร เสียงและภาพรวมกัน โครงสร้างหน้าของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียมีดังภาพประกอบ 1 ในส่วนที่แรเงาในภาพนำเหนอตัวอักษร เสียง และภาพตามที่ผู้ใช้เลือก ภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียอาจเป็นภาพธรรมดาที่มีเอฟเฟค หรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้ ในหนึ่งหน้าจอ จะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนดังภาพประกอบ 5 ได้แก่ ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ กรอบโต้ตอบระหว่างผู้อ่านกับคอมพิวเตอร์ในหน้านี่อาจใส่เสียงด้วย โดยอาจใส่ไว้ในรูปของปุ่มเพื่อให้ผู้เรียนเลือกใช้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลายๆ ประเภท รวมทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดียจะได้รับความสะดวกสลายจากตัวจัดการซ้อนทับ (Overlay Manager) ดังภาพประกอบ 6 หน้าจอทั้งหมดที่ผู้ใช้มองเห็นเกิดจากการรวมตัวของแต่ละหน้าจอทางตรรกะวิทยา (Logical Screen) ที่มีอยู่ โดยแต่ละหน้าจอจะมีภาพพื้นฐานเป็นภาพหลัก ตัวซ้อนทับ 1,2,3 และ 4 จะปรากฎขึ้นเอง หรือต้องอาศัยการกดปุ่มช่วยขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบโปรแกรมว่าจะออกแบบไว้อย่างไร ตัวจัดการการซ้อนทับมีประโยชน์ต่อการรวบรวม การควบคุมโครงสร้าง และการที่จะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย จะต้องอาศัยพื้นฐานโมเดลตัวจัดการซ้อนทับ (Overlay Model) ด้วย

3. ข้อดีและข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

3.1 ข้อดีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีข้อดีดังต่อไปนี้
3.1.1 เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือ สามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
3.1.2 ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วขึ้น (สิทธิพร บุญญานุวัตร,2540 : 24) 3.1.3 ครูสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน,การเขียน,การฟังและการ
พูดได้ (Roffey,1995)
3.1.4 มีความสามารถในการออนไลน์ผ่านเครือข่ายและเชื่อมโยงไปสู่โฮมเพจและเว็บไซต์ต่างๆอีกทั้ง
ยังสามารถอ้างอิงในเชิงวิชาการได้
3.1.5 หากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตจะทำให้การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขว้างกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์(“หนังสือพิมพ์ออนไลน์นวัตกรรมแห่งสื่ออนาคต”,2541 : 60)
3.1.6 สนับสนุนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน ห้องสมุดเสมือนและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
3.1.7 มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อักทั้งยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ควสมสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์
3.1.8 ในการสอนหรืออบรมนอกสถานที่ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากสื่อสามารถสร้างเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้ ไม่ต้องหอบหิ้วสื่อซึ่งมีจำนวนมาก
3.1.9 การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสำเนาได้เท่าที่ต้องการ ประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
3.1.10 มีความทนทาน และสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลังซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าในการจัดเก็บ สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ
3.1.11 ช่วยให้นักวิชาการและนักเขียนสามารถเผยแพร่ผลงานเขียนได้อย่างรวดเร็ว
3.2 ข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีข้อดีที่สนับสนุน
ด้านการเรียนการสอนมากมายแต่ก็ยังมีข้อจำกัดด้วยดังต่อไปนี้
3.2.1 คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชินอยู่กับสื่อที่อยู่ในรูปกระดาษมากกว่า(“หนังสือพิมพ์ออนไลน์นวัตกรรมสื่อแห่งอนาคน “,2541: 60) อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สมารถใช้งานได้งายเมื่อเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์ และความสะดวกในการอ่านก็ยังน้อยกว่ามาก
3.2.2 หากโปรแกรมสื่อมีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆ จะทำให้การเปลี่ยนหน้าจอมีความล่าช้า
3.2.3 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ผู้สร้างต้องมีความรู้ และความชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการสร้างสื่อดีพอสมควร
3.2.4 ผู้ใช้สื่ออาจจะไม่ใช่ผู้สร้างสื่อฉะนั้นการปรับปรุงสื่อจึงทำได้ยากหากผู้สอนไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
3.2.5 ใช้เวลาในการออกแบบมาก เพราะต้องใช้ทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้สื่อที่มี
คุณภาพ


ที่มา http://student.nu.ac.th/supaporn/e%20-book.htm