วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 7

อินเทอร์เน็ตบูม ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ผุดตาม
Reuters – ความนิยมการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างรวมทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออี-บุ๊ก ตามมา ล่าสุดบริษัทอินเทอร์เน็ตหลายแห่งกำลังเริ่มหาทางทำเงินกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กันนี้แต่มีรูปแบบต่างออกไป
บริษัทอินเทอร์เน็ตหลายแห่งกำลังสร้างคอลเล็กชั่นหนังสือดิจิตัล หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ แต่แทนที่จะให้บริการหนังสืออ่านเล่น และหนังสือทั่วๆ ไปแบบที่ผู้อ่านนิยมจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลดอ่าน แต่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะเก็บรวบรวมเฉพาะหนังสือวิชาการที่ผู้ใช้สามารถค้นหาและดูได้ทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ใดก็ได้ และเน้นกลุ่มลูกค้าไปที่นักศึกษา 15 ล้านคนที่ต้องท่องหนังสือสอบหรือทำรายงาน
บริษัทที่หันมาสนใจตลาดนี้มีหลายบริษัทได้แก่ ebrary,NetLibrary,Questia,Eduventure รวมทั้งสำนักพิมพ์วิชาการที่ทำธุรกิจด้านนี้มานานอย่าง Britannica ด้วย
นักวิเคราะห์จาก Eduventures.com เชื่อว่าหนังสือดิจิตอลในอุตสาหกรรมการศึกษาจะเป็นแรงดันหลักของธุรกิจภายใน 5 ปี และประเมินว่าปัจจุบันบริการห้องสมุดออนไลน์มีมูลค่าถึง 250 ล้านเหรียญ และจะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 3 เท่าภายในปี 2004 เป็นกว่า 850 ล้านเหรียญต่อปีซึ่งตรงข้ามกับที่นักวิจัยจากบริษัทวิจัยจูปิเตอร์มีเดียคาดว่ายอดขายของอี-บุ๊กในปีนี้มีมูลค่าเพียง 70 ล้านเหรียญเท่านั้น
อุปสรรคอย่างหนึ่งในการอ่านหนังสือทางอินเทอร์เน็ตคือผู้อ่านจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง คือต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีจอขนาดใหญ่ และเป็นจอแบนเพื่อให้อ่านสบายตานอกจากนี้หนังสืออิเล็คทรอนิกส์ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผู้อ่านจะพกติดตัวไปอ่านที่ไหนได้จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าการให้บริการแบบนี้อาจไม่ได้รับความนิยมมากนัก ซึ่งทางบริษัทที่ให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ก็พยายามแก้ปัญหา เช่นให้ผู้อ่านหนังสือที่มีอยู่หลายหมื่นหน้าได้ฟรี แต่จะเก็บเงินจากการพิมพ์หรือคัดลอกไปใช้บนโปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์

เครือข่ายวิทยานิพนธ์ดิจิตอล
ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (ศสท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(เอไอที) จัดสัมมนาโครงการเครือข่ายวิทยานิพนธ์ดิจิตอล วันที่ 4 พฤษภาคมนี้ เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ อาคาร สวทช. ถนนพระราม 6 ราชเทวี โดยโครงการเครือข่ายวิทยานิพนธ์ดิจิตอลเป็นโครงการร่วมระหว่าง ศสท. และภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และการจัดการสารสนเทศของสถาบันเอไอที ที่เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา หากเสร็จสิ้นโครงการแล้ว ประเทศไทยจะมีห้องสมุดดิจิตอลสำหรับวิทยานิพนธ์ไทยบริการแก่ประชาชนทั่วไปในอินเตอร์เน็ต


มัลติมีเดียแตกไลน์อี-เลิร์นนิ่งจับกลุ่มนักศึกษา
มัลติมีเดีย เทคโนโลยีแตกบริการใหม่ติดตั้งอุปกรณ์การเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต(อี-เลิร์นนิ่ง) เจาะกลุ่มเป้าหมายนักเรียนนักศึกษาและองค์กรที่เน้นฝึกอบรมชี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายส่งบุคลากรไปอบรมนอกสถานที่
นายเชิดศักดิ์ ถาวรเศรษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มัลติมีเดียเทคโนโลยี จำกัด ผู้ให้บริการรวบรวมระบบ และเครือข่ายมัลติมีเดีย กล่าวว่าบริษัทได้เพิ่มธุรกิจใหม่ติดตั้งระบบการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต(อี-เลิร์นนิ่ง) บนเครือข่ายมัลติมีเดีย ด้วยการพัฒนาโปรแกรมไวท์บอร์ด สตรีมมิ่ง (Whiteboard Streaming) เพื่ออำนวยความสะดวกให้สถานศึกษา และอาจารย์ผู้สอนสร้างเนื้อหาสำหรับการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ระบบดังกล่าวผู้สอนไม่ต้องพัฒนาเนื้อหาใดๆ เนื่องจากมีโปรแกรมที่จะบันทึกภาพการสอนของอาจารย์ที่เขียนไว้ในบอร์ดเป็นการนำสอนแบบดั้งเดิม ที่เขียนด้วยชอล์ค และการพูดคุย (ชอล์ค แอนด์ ทอล์ค) มาบันทึกในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แบบเคลื่อนไหวได้ และเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่ายได้
สำหรับค่าใช้จ่าย ในการติดตั้ง ระบบอี-เลิร์นนิ่งในสถาบัน ประมาณ 28,500 บาท พร้อมซอฟต์แวร์ 20,000 บาท ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย เป็นสถาบันศึกษาภาครัฐ และหน่วยงานที่ส่งเสริมการศึกษาในภาครัฐ โดยส่งเสริมนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นระบบการเรียนตามอัธยาศัย นักเรียนค้นข้อมูลด้วยตนเอง สามารถเลือกเรียนในวิชาที่สนใจหรือขาดเรียนได้ อย่างไรตาม ในตลาดภาครัฐนี้บริษัทไม่เคยทำตลาดมาก่อนเนื่องจากลูกค้าหลักเป็นกลุ่มองค์กรจึงยังไม่ได้คาดหวังรายได้มากนัก
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะนำเสนอบริการสร้างระบบอี-เลิร์นนิ่งในองค์กรทั้งโปรแกรมและระบบเครือข่าย โดยองค์กรต้องจัดหาเนื้อหาที่ต้องการบริษัทจะแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของสื่ออิล็กทรอนิกส์ จัดเก็บเป็นองค์ความรู้ขององค์กร และสร้างระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับใช้ข้อมูลเฉพาะภายในองค์กร
“แนวโน้มในอนาคต หากธุรกิจอี-เลิร์นนิ่งขยายตัวมากขึ้น และองค์การต่างๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรองค์กรมากขึ้น การสร้างระบบการเรียนรู้ และฝึกอบรมภายในองค์กร ทำให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่าย ส่งคนไปอบรมภายนอกรวมทั้งสามารถให้ผู้บริการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการเรียนรู้ของพนักงานองค์กรได้สำหรับบริษัทเองหากธุรกิจนี้ไปได้ดีก็แตกธุรกิจส่วนนี้ออกเป็นบริษัทใหม่” นายเชิดศักดิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตามคาดว่ารายได้หลักของบริษัท จะมาจากธุรกิจติดตั้งระบบ (ซิสเต็ม อินทิเกรเตอร์) เป็นหลัก โดย เฉพาะระบบเครือข่ายมัลติมีเดีย และสื่อสารภายในองค์กรโดยไมโครซอฟท์ เอ็กซเชนจ์เป็นสินค้าหลัก ซึ่งนำเสนอระบบประชุมทางไกล(คอนเฟอร์เรนซ์) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เทอร์เน็ต

ที่มา http://www.correct.go.th/hrd/news/n_e_book.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น